วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2557

คันธาระ พุทธศิลป์สวยที่สุดในโลก

.........จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด ที่เป็นหลักฐานทางโบราณคดี เกี่ยวกับการสร้างรูปเคารพ ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มีการทำเหรียญทองคำ เป็นรูปพระพุทธเจ้าประทับยืนมีอักษร Bactrian สลักคำว่า " Boddo " ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยของกษัตริย์ไท แห่งราชวงศ์ไทแถน นามว่า พระเจ้ากนิษกะ พ.ศ.๖๐๐

.... พระเจ้ากนิษกะ ทรงเป็นศิษย์ของพระนาคารชุนอรหันตเถร และได้ทรงทำสังคายนาอันยิ่งใหญ่ที่สุดของศาสนาพุทธ คือมีพระอรหันต์เข้าร่วมเกินกว่า ๒๐,๐๐๐ รูป เป็นยุคสมัยที่มีพระอรหันต์มากที่สุดนับแต่หลังพุทธกาล

... ยุคสมัยของพระองค์ นับว่าเป็นการเริ่มต้นสู่การพัฒนาเป็นภาพจำหลักหิน เล่าเรื่องพุทธประวัติ และพัฒนาจนเป็นพระพุทธรูปขึ้น เมื่อพุทธฝ่ายมหายานเจริญรุ่งเรืองต่อมา ในครั้งนั้น การสร้างรูปพระพุทธประวัติแบบนูนต่ำและนูนสูงที่นิยมกัน จะมุ่งเน้นให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา หรือถ่ายทอดพุทธจริยาวัตรมากกว่าที่จะสร้างขึ้นเพื่อเป็นรูปเคารพเช่นการ สลักภูเขาเป็นพระยืนที่ใหญ่ที่สุดในโลก(บามิยัน ปัจจุบันถูกอิสลามตาเลบันระเบิดทำลายไปแล้ว)

                                      >>> พุทธรูปคันธาระ ปางปฐมเทศนา <<<

.......การ สร้างรูปพระพุทธองค์ (ที่เป็นรูปมนุษย์) เกิดขึ้นครั้งแรก โดยฝีมือของช่างแคว้นคันธารราฐ เกิดขึ้นเมื่อราว พ.ศ.๓๗๐ ที่ได้รับอิทธิพลจากกรีกและโรมัน เพราะเคยอยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ซึ่งเคยกรีฑาทัพมา ตั้งแต่ในราว ๒ ศตวรรษก่อนคริสตกาล พวกเขาได้ถือรูปแบบเคารพเดิมที่เป็นเทพเจ้าของตนที่เคยทำมา ประดิษฐ์สร้างพระพุทธรูปขึ้น เมื่อพวกเขาหันมานับถือศาสนาพุทธ การสร้างพระพุทธรูปที่นี่จึงเป็นการผสมผสานระหว่างกรีกโรมัน (อิทธิพล Grego-Roman) และอินเดียโบราณ ที่สัมพันธ์กับมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ของพระพุทธเจ้า อย่างลงตัว

.... พระพุทธรูปคันธาระจึงได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่ามีพุทธศิลปงามที่สุด และเก่าแก่ที่สุด มีอายุราว ๒๐๐๐ ปี จนได้รับความนิยมเป็นสากลจากนักสะสมและพิพิธภัณฑ์นานาชาติ
                              >>> พระพุทธรูปคันธาระ ปางประทานพร <<<

..... ครั้นเมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชโปรดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่3 ขึ้นแล้วเสร็จ ทรงโปรดให้สร้างศาสนสถานศึกษาขึ้นหลายแห่ง เพื่อศึกษาพระศาสนา แต่ยังคงไม่นิยมการสร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปเคารพ ทำแต่รูปอย่างอื่นเป็นเพียงสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า ดังเช่นที่ปรากฏอยู่ที่สถูปสาญจิ มีการสร้างรูปเคารพจากรากฐานของวัฒนธรรมอินเดียเช่น รอยพระพุทธบาทซึ่งแสดงถึงการเคารพอย่างสูงสุด เปรียบเทียบกับพระมหากษัตริย์ หรือการสร้างต้นโพธิ์เป็นสัญลักษณ์แทนการตรัสรู้ เป็นต้น

.....วัฒนธรรม การสร้างพระพุทธรูป เพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจในทางรูปธรรมนั้น เริ่มแรกในช่วงก่อนสมัยคริสต์กาลเล็กน้อย โดยพระเจ้ามิลินท (Menander) กษัตริย์อินเดีย เชื้อสาย กรีก แห่งนครสาคละ แคว้นคันธารราฐ อาณาจักรบัคเตรีย (บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถานและตะวันออกของอัฟกานิสถานในปัจจุบัน ซึ่งเป็นประเทศอินเดียในอดีต)

                                >>> พระพุทธรูปคันธาระ ปางปาฏิหารย์ <<<

...... พระเจ้ามิลินท์ ทรงเลื่อมใสพระพุทธศาสนาและทำนุบำรุงให้รุ่งเรืองอย่างมาก หลังการล่มสลายของวงศ์เมาริยะ เริ่มมีการสร้างพระพุทธรูป จำหลักหินขึ้นอย่างมากมาย เป็นศิลปกรรมแบบกรีกผสมอินเดีย เรียกตามเมืองที่ตั้งว่า ศิลปคันธารราฐ (อิทธิพล Grego-Roman)

....... ท่านได้ทรงสร้างพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ขึ้นมามากมาย ส่วนใหญ่สลักจากหินเทาอมเขียว (Schist stone) โดยยึดรูปแบบศิลปกรีกและเฮเลนนิค ซึ่งมีความสวยงามไม่แพ้ศิลปะใดๆ ในยุคหลังต่อมาจึงได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 4 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 13 ที่มีอิทธิพลต่อศิลปของมถุรา ในแคว้นอุตรประเทศ

........ พระพุทธรูปสมัยคันธาระ มีการสร้างหลายปาง ที่นิยมกัน เช่น ปางสมาธิ ปางปฐมเทศนา ปางประทานพร ปางมหาปาฏิหาริย์ ปางลีลา(หมายถึงตอนที่เสด็จลงจากดาวดึงส์) และปางทุกรกิริยา ส่วนปางอื่นๆ ในตำราบางเล่มจะมีมากกว่านี้ แต่ยังค้นหาภาพไม่พบ
                                                     ศิลปแบบคันธาระ

..... ลักษณะสำคัญทางศิลป์ของพระคันธาระคือ พระพักตร์คล้ายเทพอพอลโล มีเส้นพระเกศาหยิกสลวย ( ยังไม่เป็นก้นหอยเหมือนในยุคหลัง ) มีรัศมี ( Halo ) อยู่หลังพระเศียร ตามความเชื่อของกรีกที่ทำรูปปั้นเทพต่างๆ ห่มผ้าคลุมแบบริ้วธรรมชาติ มีอุณาโลมระหว่างคิ้ว มีอุษณีษะศีรษะ ( มวยผมโป่งตอนบน ) พระกรรณยาว พระพุทธรูปคันธารราฐ มีทั้งที่ทำด้วยปูนปั้น ( Stucco ) หินเขียว และหินดำ ( Schist )


 ...... สมัยคุปตะนับว่าเป็นยุคที่ ๓ ของการทำพระพุทธรูปต่อจากสมัยคันนาระและสมัยมถุราอันเป็นยุคศิลปะอินเดียแท้ ยุคนี้เรียกว่า "พุทธศิลป์สมัยคุปตะ" การสร้างพุทธศิลป์สมัยคุปตะนี้เริ่มต้นที่ พ.ศ.๘๐๐ หรือพุทธศตวรรษที่ ๘ จนถึง พ.ศ. ๑๒

" ยุคนี้เป็นศิลปะที่งดงามเป็นฝีมือของอินเดียเองไม่ได้รับอิทธิพลจากกรี ก-โรมันเหมือนสมัยคันธาระ พระพุทธรูปสมัยคุปตะนี้ที่เห็นชัดเจนที่สุดคือ ที่สารนาถ"

......สมัยคุปตะนี้ นับเป็นยุคทองของศิลปะอินเดีย พระพุทธรูปสมัยนี้พระเกศาขมวดเป็นก้นหอยเช่นเดียวกับสมัยมถุรา

....พระ เกตุมาลาเป็นต่อม พระพักตร์เป็นแบบอินเดีย ห่มจีวรบางแนบติดพระองค์ ไม่มีริ้ว พระอังสะกว้าง บั้นพระองค์เล็ก ปางประทับนั่งเป็นที่นิยมมากที่สุด ฐานล่างนิยมแกะรูปกวาง พระธรรมจักรพระสาวกติดไว้ด้วย หินที่นิยมนำมาแกะสลัก ในสมัยนี้คือหินทรายแดงเพราะง่ายต่อการแกะ ส่วนสมัยคันธาระนิยมหินดำเรือหินสบู่ซึ่งจะดูเรียบและง่ายต่อการแกะสลัก มากกว่าหินทราย

พระพุทธรูปสมัยคุปตะ จัดว่าเป็นความเจริญขั้นสูงสุดในการสร้างพุทธรูปในอินเดียยุคสุดท้าย และนั่นคือสัญญาณบอกเหตุก่อนที่พุทธศาสนาจะถูกทำลายโดยศาสนิกชาวคริสต์และอิสลาม จนกระทั่งสาปสูญไปจากชมพูทวีป .... สิ่งที่น่าแปลกที่สุดก็คือ กรรมมีจริง ชนเผ่าและประเทศต่าง ๆ ที่ร่วมกันทำลายพระพุทธศาสนา นับแต่เวลานั้นจวบจนปัจจุบัน(พ.ศ.๒๕๕๗) ประเทศหลายประเทศสาปสูญไปจากโลก ที่เหลืออยู่ก็รบราฆ่าฟันกันเอง หาความสุขอันใดมิได้ นี่แหละ กรรม..ที่แสดงผลชัดเจน สืบต่อชั่วลูกหลานเหลนโหลน... ไม่ต้องเชื่อ..แต่ท้าพิสูจน์จากหลักฐานเชิงประจักษ์ เช่น
      กรณี ตาเลบัน นำโดย อุสมะ บิน ลาเดน แห่งอิสลาม ได้ทำการระเบิดพระพุทธรูปที่สร้างโดยพระเจ้ากนิษกะ ณ หน้าผาบามิยัน ... หลังจากที่เขาระเบิดทิ้งไม่ถึง 3 ปี รัฐบาลตาเลบันถูกโค่นอำนาจ กลายเป็นกองโจรร่อนเร่ อุสมะ บินลาเดน ตายโหงอย่างน่าทุเรศ... นี่คือตัวอย่างกรรมที่แสดงผล โดยไม่จำแนกเวลา และสถานที่ แม้กระทั่งในยุคHi-Tech ปัจจุบันก็ตาม..!!!